วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติส่วนตัว




ประวัติส่วนตัว ของข้าพเจ้า
ชื่อ    นางสาวอภิรมย์รัช     นามสกุล   เรืองประทุม      อาชีพ  นักศึกษา
ชื่อเล่น   ปอง    ฉายาเพื่อนเรียก สมปอง ^^
อายุ   20 ปี       เกิด   วันเสาร์    ที่2    เดือนพฤษภาคม   พ.ศ.2535    ปีวอก
ที่อยู่  119  หมู่ 3  บ้านบ่อใหญ่  ตำบลคูคำ  อำเภอซำสูง    จังหวัดขอนแก่น    รหัสไปรษณีย์  40170
บิดาชื่อ   นายทรงยศ   นามสกุล  เรืองประทุม       อายุ 40 ปี    อาชีพ ค้าขาย
มารดาชื่อ นางสอาด   นามสกุล   เรืองประทุม      อายุ 37 ปี    อาชีพ   ค้าขาย
มีพี่น้อง 2 คน    มีน้องชาย 1 คน(ดื้อสุดๆ) อายุ 7 ปี  เรียนอยู่ประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลศรีซำสูง

ประวัติการศึกษา  
อนุบาล 1- ประถมศึกษาปีที่.6  โรงเรียนบ้านบ่อใหญ่  
มัธยมศึกษาปีที่   1-3    โรงเรียนซำสูงพิทยาคม
มัธยมศึกษาปีที่   4-6   โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน
ปัจจุบัน กำลังศึกษาอยู่  สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา ชั้นปีที่ 2   คณะศึกษาศาตร์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ขณะกำลังศึกษา  พักอยู่ที่   หอพักนพรัตน์(หอ9หลัง) ห้อง 3305  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  

ลักษณะตัวตน ของตนเอง 
1 สิ่งที่ชอบ
     -ดอกไม้   ดอกกุหลาบ,ดอกลิลลี่,ดอกกล้วยไม้
     -สัตว์       สุนัขพันธุ์โกเด้น,สุนัขพันธุ์ร็อตไวเลอร์,กระต่ายสีขาว,ปลาทอง
     -สิ่งของ   นาฬิกา,เทคโนโลยีใหม่ๆ,กระเป๋า,รองเท้า,เสื้อผ้า
     -อาหาร    ไข่ตุ๋น,ต้มยำปลาช่อน,ยำไข่,กะเพราหมูกรอบ  เครื่องดื่ม  น้ำส้มคั้น,น้ำละมุดปั่น,
                      น้ำแคนตาลูปปั่น,นมสดร้อน+ขนมปังปิ้งทาเนย นม น้ำตาล (กินทุกวัน เพราะชอบมาก)
2 สิ่งที่ไม่ชอบ
     -สัตว์      สัตว์เลื้อยคลานทุกชนิด(อาจถึงขั้นเกลียด)
     -ไม่ชอบความวุ่นวาย เอะอะโวยวาย เสียงดัง,คนทะเลาะกัน,ความเห็นแก่ตัว,ความโอ้อวด,ชอบรังแก
        คนอื่น,ความสกปรก
3 นิสัยส่วนตัว
     -เรียบๆ ง่ายๆ อะไรก็ได้  แต่เลือก
     -ติ๊งต๊อง บ้าๆบอๆ  ป่วง(มั้ง)
     -เป็นระเบียบ,สะอาด
     -เอาแต่ใจ(บางครั้ง),โมโหง่าย,ยิ้มง่าย,โกรธคนไม่ค่อยเป็น(มั้ง)
     -เก็บอาการ,เก็บอารมณ์ แต่ไม่เก็บกด
     -ถ้าเจ็บใจหรือเสียใจ จะไม่ลืมไปตลอดชีวิต  เเละก็จะไม่จำความเจ็บนั้น
4 จุดอ่อนของตัวเอง
     -ขี้สงสาร  เช่น เห็นคนแก่ๆ,เด็ก,คนพิการ  มานั่งขอทาน
     -เวลาชวนไปไหน จะไปกับเขา ซะส่วนใหญ่  น้อยมากที่จะปฏิเสธ
     -ตกใจง่ายมาก ถึงมากที่สุด
     -เป็นคนขวัญอ่อน ขี้กลัว  จินตนาการเอง กลัวเอง  บรื๋ออออออ!!!
     -ทำอะไรไม่ค่อยคิดก่อน    ทำเเล้วค่อคิด  O-o!!!!
5 เวลาว่างทำอะไร
     - เล่น Internet เช่น Facebook,Hi5,Chat, ดูหนัง,อ่านข่าวต่างๆจาก KKLหรือPostjung  ฯลฯ
     -อ่านหนังสือเรียนและหนังสือทั่วๆไป  เช่นนิตยสาร,I Like,อ่านดวง(เพ้อ)
     -ทำกับข้าวบ้าง บางเวลา
     -ฟังเพลงตามอารมณ์ เช่น เศร้า,เสียใจ,อกหัก,อินเลิฟ,อินดี้,ลูกทุ่ง,สตริง,หมอลำ
     -ดูหนังในโรงภาพยนตร์บ้าง บางเวลา

ภาพต่างๆ










   




วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


ความหมายและประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก คือกลุ่มของคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สอง
เครื่องขึ้นไปและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร
แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้ เครือข่ายนั้นมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาด
เล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่อง เพื่อใช้งานในบ้านหรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึง
เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก เราเรียกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การแบ่งประเภทของเครือข่ายสามารถแบ่งได้หลายแบบด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่นิยมแบ่งตาม
ขนาดของเครือข่าย โดยสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ LAN (Local Area Network), MAN
(Metropolitan Area Network) และ WAN (Wide Area Network)
 LAN (Local Area Network)

ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ต้องใช้โครงข่าย
การสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ เป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคารใน
ระยะใกล้ๆ
 MAN (Metropolitan Area Network)
ระบบเครือข่ายเมือง เป็นเน็ตเวิร์กที่จะต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์
หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อกันในเมือง เช่น เครื่องเวิร์กสเตชั่นอยู่ที่สุขุมวิท มีการ
ติดต่อสื่อสารกับเครื่องเวิร์กสเตชั่นที่บางรัก
WAN (Wide Area Network)
ระบบเครือข่ายกว้างไกล หรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก โดยจะเป็น
การสื่อสารในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลก จะต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์
หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up / คู่สายเช่า Leased line / ISDN)
โพรโตคอล(Protocol)
โพรโทคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่าย ไม่ว่าจะ
เป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรือระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่นๆ โดยเครื่อง
คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลชนิดเดียวกันเท่านั้นจึงจะสามารถติดต่อและส่ง
ข้อมูลระหว่างกันได้ โพรโทคอลมีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ซึ่งต้องใช้
ภาษาเดียวกันจึงจะสามารถสื่อสารกันได้เข้าใจองค์ประกอบหลักของโพรโตคอล
โพรโทคอลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารข้อมูล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีมาตรฐาน
(Standard) เพื่อให้เกิดความเป็นสากล และเนื่องจากมีการใช้อุปกรณ์มากมายหลากหลายชนิด
สำหรับการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อีกทั้งยังมีผู้ผลิตอุปกรณ์ดังกล่าวกระจายอยู่
ทั่วโลก ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดมาตรฐานเอาไว้ เพื่อให้อุปกรณ์ทุกชิ้นสามารถทำงานร่วมกันได้
สำหรับมาตรฐานการสื่อสารข้อมูลเราสามารถแบ่งมาตรฐานออกได้ 2 ประเภท คือ
de facto เป็นมาตรฐานที่เกิดขึ้นจากการยอมรับของคนทั่วไป ไม่ต้องมีองค์กรใดๆ ทำ
หน้าที่ในการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ผลิตจะเป็นผู้กำหนดไว้ ถ้าผู้ใช้
ยอมรับและมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ก็จะถือเป็นมาตรฐานได้
de jureเป็นมาตรฐานที่ได้ผ่านการรับรองอย่างถูกกฏหมายแล้ว ซึ่งทั่วโลกมีองค์กรที่ทำ
หน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานอยู่หลายองค์กร เช่น International Organization for
Standardization (ISO) เป็นองค์กรที่สมาชิกจากทั่วโลกมาช่วยกันกำหนดมาตรฐานขึ้นโดยจะเน้น
กำหนดมาตรฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ เป็นต้น
















โพรโตคอลTCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)นี้
ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี 1960 ซึ่งถูกใช้เป็นครั้งแรกในเครือข่าย ARPANET ซึ่งต่อมาได้ขยายการ

เชื่อมต่อไปทั่วโลกเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ TCP/IP เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางจนถึง
ปัจจุบันเป็นชุดของโพรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 
ได้รับข้อมูลส่วนที่เป็น Header ก่อนและนำไปประมวลและทราบว่าข้อมูลที่ตามมามีลักษณะอย่างไรซึ่งกระบวนการย้อนกลับนี้เรียกว่า Demultiplexingสำหรับการ Encapsulation/Demultiplexing ของโพรโตคอล TCP/IP จะมีขั้นตอนการ
ทำงานอยู่ 4 ขั้นตอนดังนี้

1 ชั้นโฮสต์-เครือข่าย (Host-to-network)โพรโตคอลสำหรับการควบคุมการสื่อสารในชั้นนี้
เป็นสิ่งที่ไม่มีการกำหนดรายละเอียดอย่างเป็นทางการหน้าที่หลักคือการรับข้อมูลจากชั้น
สื่อสาร IP มาแล้วส่งไปยังโหนดที่ระบุไว้ในเส้นทางเดินข้อมูลทางด้านผู้รับก็จะทำงานในทาง
กลับกันคือรับข้อมูลจากสายสื่อสารแล้วนำส่งให้กับโปรแกรมในชั้นสื่อสาร
2. ชั้นสื่อสารอินเตอร์เน็ต (The Internet Layer)ใช้ประเภทของระบบการสื่อสารที่เรียกว่า
ระบบเครือข่ายแบบสลับช่องสื่อสารระดับแพ็กเก็ต (packet-switching network) ซึ่งเป็น
การติดต่อแบบไม่ต่อเนื่อง (Connectionless) หลักการทำงานคือการปล่อยให้ข้อมูลขนาด
เล็กที่เรียกว่า แพ็กเก็ต (Packet) สามารถไหลจากโหนดผู้ส่งไปตามโหนดต่างๆ ในระบบ
จนถึงจุดหมายปลายทางได้โดยอิสระหากว่ามีการส่งแพ็กเก็ตออกมาเป็นชุดโดยมีจุดหมาย
ปลายทางเดียวกันในระหว่างการเดินทางในเครือข่ายแพ็กเก็ตแต่ละตัวในชุดนี้ก็จะเป็นอิสระ
แก่กันและกัน ดังนั้นแพ็กเก็ตที่ส่งไปถึงปลายทางอาจจะไม่เป็นไปตามลำดับก็ได้
3. ชั้นสื่อสารนำส่งข้อมูล (Transport Layer)แบ่งเป็นโพรโตคอล 2 ชนิดตามลักษณะ ลักษณะ
แรกเรียกว่า Transmission Control Protocol (TCP) เป็นแบบที่มีการกำหนดช่วงการ
สื่อสารตลอดระยะเวลาการสื่อสาร (connection-oriented) ซึ่งจะยอมให้มีการส่งข้อมูล
เป็นแบบ Byte stream ที่ไว้ใจได้โดยไม่มีข้อผิดพลาด ข้อมูลที่มีปริมาณมากจะถูกแบ่ง
ออกเป็นส่วนเล็กๆเรียกว่า message 
4. ชั้นสื่อสารการประยุกต์ (Application Layer)มีโพรโตคอลสำหรับสร้างจอเทอร์มินัลเสมือน
เรียกว่า TELNET โพรโตคอลสำหรับการจัดการแฟ้มข้อมูล เรียกว่า FTP และโพรโตคอล




สำหรับการให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า SMTP โดยโพรโตคอลสำหรับสร้างจอ
เทอร์มินัลเสมือนช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อกับเครื่องโฮสต์ที่อยู่ไกลออกไปโดยผ่าน
อินเทอร์เน็ตและสามารถทำงานได้เสมือนกับว่ากำลังนั่งทำงานอยู่ที่เครื่องโฮสต์นั้น
โพรโตคอลสำหรับการจัดการแฟ้มข้อมูลช่วยในการคัดลอกแฟ้มข้อมูลมาจากเครื่องอื่นที่อยู่
ในระบบเครือข่ายหรือส่งสำเนาแฟ้มข้อมูลไปยังเครื่องใดๆก็ได้โพรโตคอลสำหรับให้บริการ
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ช่วยในการจัดส่งข้อความไปยังผู้ใช้ในระบบหรือรับข้อความที่มีผู้ส่ง
เข้ามา


จากจากรูปแสดงถึงองค์ประกอบและกลไกการทำงานของโปรโตคอล FTP จะเริ่มจากผู้ใช้
(USER) เรียกใช้โปรแกรมผ่าน User Interface และ เมื่อเป็นโปรแกรม FTP พร้อมใช้งานแล้วถ้ามี
การใช้คำสั่งต่างๆของFTP จะเป็นหน้าที่ของ PI (Protocol Interpreter module) ทำหน้าที่แปล
คำสั่งและทำงานตามคำสั่ง ในกรณีที่มีการส่งรับข้อมูลก็จะเป็นหน้าที่ของ DT (Data Transfer
module) ซึ่งโมดูล PI และDTนี้จะอยู่ทั้งด้านของไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์
 ประเภทของการล็อกอินในบริการ FTP
 ล็อกอินด้วยผู้ใช้ที่มีอยู่ในระบบ (Real FTP) ผู้ใช้บริการจะต้องมีบัญชีผู้ใช้อยู่จริงบน
เซิร์ฟเวอร์สามารถเปลี่ยนไดเร็คทอรี่ไปที่อื่นได้
 ล็อกอินด้วยผู้ใช้ที่มีอยู่ในระบบแต่จำกัดขอบเขต (Guest FTP) คล้ายกับ Real FTP ต่าง
ตรงที่ ไม่สามารถเปลี่ยนไดเร็คทอรีไปไหนได้เกินขอบเขตที่เซิร์ฟเวอร์กำหนด
 ล็อกอินด้วยผู้ใช้ที่ไม่มีอยู่ระบบ (Anonymous FTP) การบริการ FTP แบบที่เปิดเสรีให้
คนทั่วโลกมาใช้บริการคงเป็นไปไม่ได้ที่จะมานั่งสร้างบัญชีผู้ใช้ให้รอบรับคนทั่วโลกแบบนี้
จึงกำหนดให้ล็อกอินโดยใช้ชื่อ anonymous ส่วนรหัสผ่าน E-Mail Address
 การสร้างส่วนเชื่อมโยงข้อมูล
1 FTP ใช้ port TCP 21 ในการส่งผ่านคำสั่งควบคุมและใช้พอร์ต TCP 20 ส่งข้อมูล




2. สมมุติพอร์ตประจำส่วนเชื่อมโยงควบคุมของ Client คือ 1124 และเตรียมพอร์ต 125 รอไว้
สำหรับส่วนเชื่อมโยงข้อมูล


3. Client จะขอเปิดส่วนเชื่อมโยงข้อมูลตามตำแหน่ง (1) โดยส่งรหัสคำสั่ง Port ตามด้วย IP
Address (158.108.33.1) และหมายเลขพอร์ต 4, 101 ซึ่งแสดงถึงพอร์ต 1125 (เลขพอร์ตเป็นรหัส 16 บิต
สองชุดติดกัน ดังนั้นตัวเลข 4, 101 คือ 4 * 256 + 101 = 1125)
4.ต่อจากนั้น Server จะส่ง TCP จากพอร์ต 20 ไปยัง client ที่พอร์ต 1125 ตามตำแหน่งที่ 2
โพรโตคอล HTTP(Hyper Text Transport Protocol) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรม
ประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสมใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่
เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำ ไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บการพัฒนา HTTP เป็นการทำงาน
ร่วมกันของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต
(IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่เอกสารขอความเห็น (RFC) หลายชุด เอกสารที่สำคัญที่สุดคือ
RFC 2616 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542) ได้กำหนดHTTP/1.1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
HTTP เป็นมาตรฐานในการร้องขอและการต่อ








HTTP เป็นมาตรฐานในการร้องขอและการตอบรับระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย ซึ่ง
เครื่องลูกข่ายคือผู้ใช้ปลายทาง (end-user) และเครื่องแม่ข่ายคือเว็บไซต์ เครื่องลูกข่ายจะสร้างการ
ร้องขอเอชทีทีพีผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เว็บครอว์เลอร์ หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่จัดว่าเป็น ตัวแทนผู้ใช้






ของ Bob หรือไม่ก็ตามก็ไม่สามารถอ่านข้อมูลได้ ขณะที่ Bob ซึ่งถือ private key ไว้จะถอดรหัสได้
เพียงผู้เดียว
 รูปร่างเครือข่าย
คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลที่ประกอบกันเป็นเครือข่าย มีการเชื่อมโยงถึงกันใน
รูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสม เทคโนโลยีการออกแบบเชื่อมโยงนี้เรียกว่า รูปร่างเครือข่าย
(Network Topology) โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของเครือข่าย ซึ่งก็หมายถึง
ลักษณะของการเชื่อมโยง สายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ภายในเครือข่ายเข้า
ด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่ายแต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกัน จึงมี
ความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะคุณ สมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ
เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่ายให้เหมาะสมกับ การใช้งาน
ปัญหาของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ของสถานีปลายทางหลายๆ สถานีคือ
จำนวนสายที่ใช้เชื่อมโยงระหว่างสถานีเพิ่มมากขึ้น และระบบการสลับสายเพื่อโยงข้อมูลถึงกันใน
การสื่อสารระหว่างสถานี ถ้ามีการเพิ่มสถานีมากขึ้นค่าใช้จ่ายในการเดินสายก็มากตามไปด้วย และ
ในขณะที่สถานีหนึ่งสื่อสารกับสถานีหนึ่งก็จะถือครองการใช้สายเชื่อมโยงระหว่างสถานีนั้น ทำให้
การใช้สายเชื่อมโยงไม่เต็มประสิทธิภาพ
ดังนั้นถ้าเราควรมีความรู้และเข้าใจถึงการเชื่อมต่อเครื่อข่ายทางกายภาพซึ่งจะแบ่งออกเป็น
2 ประเภท คือ เชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด(point-to-pointConnection)และเชื่อมต่อแบบหลายจุด
(multipoint Connection)


 การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด
(point-to-point)เป็นการเชื่อมต่อระหว่าง

เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารสอง
เครื่อง โดยใช้สื่อกลางหรือช่องทางในการ

สื่อสารช่องทางเดียวเป็นการจองสายในการ
ส่งข้อมูลระหว่างกันโดยไม่มีการใช้งาน

สื่อกลางนั้นร่วมกับอุปกรณ์ชิ้นอื่นๆ การ
เชื่อมต่อลักษณะนี้เป็นการเชื่อมต่อที่ทำให้
สิ้นเปลืองช่องทางการสื่อสาร




 โทโปโลยีแบบ BUSในระบบเครือข่าย โทโปโลยีแบบ BUS นับว่าเป็นโทโปโลยีที่
ได้รับความนิยมใช้กันมากในอดีต คือการนำอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายเชื่อมต่อกับสายสื่อสารหลักที่
เรียกว่า "บัส" (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปยังอีกโหนดหนึ่งภายในเครือข่าย ข้อมูล
จากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปแบบของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบด้วย
ตำแหน่งของผู้ส่งและผู้รับ และข้อมูล การสื่อสารภายในบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง
2 ด้านของบัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัสจะมีเทอร์มิเนเตอร์(Terminator)




โทโปโลยีแบบ RINGเหตุที่เรียกการสื่อสารแบบนี้ว่าเป็นแบบ RING เพราะข่าวสารที่ส่งผ่าน
ไปในเครือข่ายจะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปในทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน หรือ RING นั่นเอง โดยไม่
มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์แบบ BUS ในแต่ละโหนดจะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 เครื่อง ซึ่งจะทำ
หน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจ ข้อมูลสำหรับการส่งข้อมูลออก
จากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมา จากสายสื่อสารเพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่
ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไป ให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็
จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป
รูปโทโปโลยีแบบ RING
ตารางเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแบบ RING
ข้อดี ข้อเสีย




โทโปโลยีแบบ STARจากการเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว (STAR)
หลายแฉกโดยมีศูนย์กลางของดาว หรือฮับเป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย
ศูนย์กลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมดทั้งภายใน และภายนอกเครือข่าย
นอกจากนี้ศูนย์กลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลอีกด้วย โดยเชื่อมต่อเข้ากับไฟล์เซิร์ฟเวอร์อีกที
อุปกรณ์เครือข่าย

การ์ดเครือข่าย (Network Interface Card) หรือการ์ดแลน หรืออีเธอร์เน็ตการ์ด
ทำหน้าที่ในการเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่นั้นเข้ากับระบบเครือข่ายได้ เช่น ในระบบ
แลน เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะต้องมีการ์ดเครือข่ายที่เชื่อมโยงด้วย
สายเคเบิลจึงสามารถทำให้เครื่องติดต่อกับเครือข่ายได้ ส่วนในกรณีเป็นระบบแลนไร้
สาย ก็จะต้องใช้การ์ดแลนแบบไร้สาย (Wireless PCI/PCMCIA Card) ร่วมกับอุปกรณ์
ที่เรียกว่าแอกเซสพอยต์ (Wireless Access Point)
ฮับ (Hub)คืออุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจาก
อุปกรณ์รับส่งหลายๆ สถานีเข้าด้วยกัน ฮับ
เปรียบเสมือนเป็นบัสที่รวมอยู่ที่จุดเดียวกัน ฮับที่ใช้งานอยู่ภายใต้มาตรฐานการรับส่ง
แบบอีเทอร์เน็ต หรือ IEEE802.3 ข้อมูลที่รับส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งจะกระจายไปยัง
ทุกสถานีที่ติดต่อยู่บนฮับนั้น ดังนั้นทุกสถานีจะรับสัญญาณข้อมูลที่กระจายมาได้
ทั้งหมด แต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเท่านั้น การตรวจสอบข้อมูลจึง
ต้องดูที่แอดเดรส(address) ที่กำกับมาในกลุ่มของข้อมูลหรือแพ็กเก็ต


สวิตช์ (Switch)คืออุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายสถานี
เช่นเดียวกับฮับ แต่มีข้อแตกต่างจากฮับ คือ การรับส่งข้อมูลจากสถานีหรืออุปกรณ์ตัว
หนึ่ง จะไม่กระจายไปยังทุกสถานีเหมือนฮับ ทั้งนี้เพราะสวิตช์จะรับกลุ่มข้อมูลหรือแพ็ก
เก็ตมาตรวจสอบก่อน แล้วดูว่าแอดเดรสของสถานีหลายทางไปที่ใด สวิตช์จะลดปัญหา
การชนกันของข้อมูลเพราะไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานี และยังมีข้อดีในเรื่องการ
ป้องกันการดักจับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย

รีพีตเตอร์ (Repeater) เป็นอุปกรณ์ทวนสัญญาณเพื่อให้สามารถส่งข้อมูลถึงกันได้
ระยะไกลขึ้น คือ รีพีตเตอร์จะปรับปรุงสัญญาณที่อ่อนตัวให้กลับมาเป็นรูปแบบเดิม
เพื่อให้สัญญาณสามารถส่งต่อไปได้อีก เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายแลนหลายๆ เซกเมนต์
ซึ่งความยาวของแต่ละเซกเมนต์นั้นจะมีระยะทางที่จำกัด ดังนั้นอุปกรณ์อย่างรีพีตเตอร์ก็
จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้สามารถ
เชื่อมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลเข้าหากันได้ด้วยการผ่านสายโทรศัพท์ โดยโมเด็ม
จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งภาคส่งและภาครับ โดยภาคส่งจะทำ
การแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์ (Digital to Analog)
ในขณะที่ภาครับนั้นจะทำการแปลงสัญญาณโทรศัพท์กลับมาเป็นสัญญาณ
คอมพิวเตอร์ (Analog to Digital) ดังนั้นในการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกลๆ เช่น
อินเทอร์เน็ต จึงจำ เป็นต้องใช้โมเด็ม โดยโมเด็มมีทั้งแบบภายใน(Internal
Modem) ที่มีลักษณะเป็นการ์ด โมเด็มภายนอก(External Modem) ที่มี
ลักษณะเป็นกล่องแยกออกต่างหาก และรวมถึงโมเด็มที่เป็น PCMCIA ที่มักใช้กับ
เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค
3.5.6 เร้าเตอร์ (Router) ในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีการเชื่อมโยง
หลายๆ เครือข่าย หรืออุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกัน ดังนั้นจึงมีเส้นทางการเข้า
ออกของข้อมูลได้หลายเส้นทาง และแต่ละเส้นทางอาจใช้เทคโนโลยีเครือข่ายที่
ต่างกัน อุปกรณ์จัดเส้นทางจะทำหน้าที่หาเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อให้การส่งข้อมูล
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การที่อุปกรณ์จัดหาเส้นทางเลือกเส้นทางได้ถูกต้อง
เพราะแต่ละสถานีภายในเครือข่ายมีแอดเดรสกำกับ อุปกรณ์จัดเส้นทางต้องรับรู้
เร้าเตอร์ (Router) ในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีการเชื่อมโยง
หลายๆ เครือข่าย หรืออุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกัน ดังนั้นจึงมีเส้นทางการเข้า
ออกของข้อมูลได้หลายเส้นทาง และแต่ละเส้นทางอาจใช้เทคโนโลยีเครือข่ายที่
ต่างกัน อุปกรณ์จัดเส้นทางจะทำหน้าที่หาเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อให้การส่งข้อมูล
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การที่อุปกรณ์จัดหาเส้นทางเลือกเส้นทางได้ถูกต้อง
เพราะแต่ละสถานีภายในเครือข่ายมีแอดเดรสกำกับ อุปกรณ์จัดเส้นทางต้องรับรู้